วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Physical Therapy Student Union of Thailand (PTSUT) : From the past to present (1990 to 2012)



Kitchana Kaewkaen
Master degree student of Physical Therapy program, Khon Kaen University
and president of PTSUT 2010 E-mail: Ultranawin@gmail.com


The Physical Therapy Student Union of Thailand (PTSUT)  is a group of undergraduate Physical Therapy students in 16 universities in Thailand. It was established in 1990 by four leading national Physical Therapy institutes; Mahidol University, Khon Kaen University, Chiang Mai University and Rangsit University.  It was first called the Physical Therapy Student Center of Thailand (PTSCT) and was organized to provide a center for extra curricular activities for Physical Therapy students.
The objectives of PTSUT are to function as a non-political group uniting PT students throughout the country, to help each other solve problems related to our profession, to be a coordination center for information and distribution, to share our knowledge and experience with each other and our communities by creating educational programs related to good health and prevention  methods.
Since our beginning in 1990, we have increased our membership from 4 to 15 universities from all over Thailand. Our institution members are Mahidol University, Khon Kaen University, Chiang Mai University, Rangsit University, Huachiew Chalermprakiet University, Chulalongkorn University, Srinakharinwirot University, Thammasat University, Naresuan University, Christian University of Thailand, Prince of Songkla University, Saint Louis College, Walailak University, University of Phayao and Mae Fah Luang University. In 2010, PTSCT changed the name to PTSUT and 2011 we added a new member, Burapha University. After changing the name, we promoted more participation from the student members by strengthening the individual groups in each institution. We share the same good goal – to be the best Physical Therapists in the future.
          PTSUT has 2 main committees; a management board and an official board.  The   committees act under the PTSUT constitution. The management board has the authority to manage all activities of PTSUT, which  include establishing, presenting, and managing policies and budget. The board also has the responsibility for choosing which projects to do in each year. Each institution has 2 representatives who serve on the management board. They are the president and the vice president of the official board. The official boards represent and organize PT students in their institutions.  
          2010 was the 1st year for PTSUT to collaborate with well known groups throughout Thailand and other countries. Within our country, PTSUT collaborated with the Health Science Student Network which is composed of the Society of Medical Students of Thailand (SMST), Dental Student Union of Thailand, Pharmacy Student Union of Thailand (PSUT), The Nurse Students’ Association of Thailand (NSAT), Thailand Public Health and Health Sciences Students Association. Internationally, PTSUT collaborated with Asia Physical Therapy Student Association (APTSA). This association is composed of 9 member countries around Asia; Taiwan, Japan, Hong Kong, Korea, Singapore, Indonesia, Philippines, Malaysia and Thailand. After that APTSA collaborated with World Wide Physical Therapy Student Network (WWPTSN) and during this time WWPTSN made a group on facebook where Physical Therapy students around the world can connect.  
PTSUT holds many activities for the student members. They are for the purpose of strengthening our confidence and sense of pride in our profession. The most important activity  is the Physical Therapy student camp. In 2010 more than 1,000 Physical Therapy students from universities around Thailand joined this camp. It was held on 2 days and 1 night. The objectives of this camp were bringing Physical Therapy students from each institution to meet and work together and building the relationship between them.
The activities within the camp each year are up to the host of the camp.  For example, in 2010, there were many activities for students like a walk rally where students from different institutions formed one group and then they walked to each station to do an activity, such as thinking together to solve a professional problem or playing a funny sport and game. There were activities for community like teaching health care knowledge for the high school students, teaching children to exercise, demonstrating a Physical Therapy breathing exercise by using the BreatheMAX device which was developed by a Thai Physical Therapy lecturer; using Thai dance as a treatment method; and others.
On the stage, we had a panel discussion about the role of the Physical Therapy student  in solving professional problems and then letting students from the floor express their opinion. At the end of last day, they sang a PTSUT song together. The content of this song is about the relationship between us and how proud we are to be Physical Therapy students.
PTSUT also collaborates with a Health Science Student Network to do a one-day-long health camp. We teach people in different communities. For example, in 2010, we held a camp in Samutsakhon Province. Pharmacy students explained how to use medication properly. Nursing students taught good health practices and did check-ups, including blood pressure and blood tests. Dental students taught the importance of good dental hygiene. Medical students  hosted the camp this year and made all the preparations for people who would attend. Some medical students did diagnostic check ups under control of medical teacher. Physical therapy students demonstrated disease prevention by exercise.
The project which we collaborate with APTSA. PTSUT works with APTSA as the  documentation department. Each year we send two student representatives from Thailand to join the annual congress of APTSA. After that, the representative comes back and reports on the meeting at the Physical Therapy student camp and also through PTSUT media like facebook. APTSA sends information online and PTSUT distributions it to student members.  In 2011, after APTSA collaborated with World Wide Physical Therapy Student Network (WWPTSN), PTSUT connected with two friends from Germany. This is the first year in which PTSUT was a host for students from another country. When they arrived, PTSUT asked friends from Mahidol University to pick them up from the airport and let them visit the Physical Therapy clinic in Bangkok. After that they visited Khon Kaen University. We let them join student classes and observe clinical practice at Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine.
The other activities in PTSUT each year are up to the president, but must have the  agreement of PTSUT committees. In 2010, PTSUT committees approved a lot of projects. We had a theme of 'PTSUT in the Future' with an essay contest and a magazine cover design contest. One objective was to understand and incorporate the opinions and visions of the students for future development. Awards were presented to the winners during the student camp.
In addition, we starting to use facebook, our PTSUT magazine, and e-mail “ptsut_main@hotmail.com” to communicate with our members and others. However the magazine had two weak points; it was only published once a year and it was too expensive. So, we solved this problem by doing a magazine online in 2012. An annual report describing the activities of 2010 and making suggestions for the following year was distributed to the committees in each institution.
After Mr. Kitchana Kaewkaen served as president of PTSUT for one year, 2010, he did his research to provide information for future leaders. He presented it at the 3rd Thailand Physical Therapy National Conference which was held by the Physical Therapy Association of Thailand. The title of this research is “The satisfaction of Physical Therapy students with the management board of Physical Therapy Student Union of Thailand”. The objective was to determine the level of satisfaction of students with the PTSUT activities and management. He used a questionnaire which involved the PTSUT executive management. It asked the opinion of 362 1st to 3rd year Physical Therapy students in 15 universities.
The data was collected and then analyzed by STATA program. The results showed that most Physical Therapy students had a high level of satisfaction in each category. Furthermore, the data showed there was a statistical significance between the strategy of execution and attendance at the Physical Therapy camp but not with the number of years of studying. Because of the strong correlation between the satisfaction and the attendance at the student camp, he recommended that communicating information about activities may be the most important way to increase participation and knowledge about the organization.
Physical Therapy Student Union of Thailand (PTSUT) continues moving forward to do  activities with members and develop the potential of Physical Therapy students in Thailand. We also work together helping each other solve professional problems. Sometimes we encounter  many problems but we work as a team and learn together. We believe that the current Physical Therapy students will be Physical Therapists in the future. We hope they will continue to work as team members in their professional lives.

Reference
1.Physical Therapy Student Union of Thailand constitution, 2010.
2.Kitchana Kaewkaen. Physical Therapy Student Union of Thailand annual report 2010.
3.Kitchana Kaewkaen. (2011). The satisfaction of physical therapy students with the management board of Physical Therapy Student Union of Thailand. In The 3rd Thailand Physical Therapy national conference. Bangkok: Thailand.




วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มุมมองการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดแบบแนวคิด SaMMual's Model Concept : มุมมองของนักศึกษา



 กิจชนะ  แก้วแก่น
อดีตนายกสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (สนกท.) ปี 2553
ultranawin@gmail.com





ที่มาและความสำคัญของแนวคิด            


SaMMauL’s Model Concept เป็นแนวคิดของการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดในมุมมองของนิสิตนักศึกษา ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย นศก.กิจชนะ แก้วแก่น หลังจากที่ได้บริหารงานสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด (สนกท.) มาครบ 1 ปี (วันที่ 24 เมษายน 2553 24 เมษายน 2554) แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากประสบการณ์การบริหารงานที่ผ่านมาพบว่า ยังไม่มีความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดกับองค์กรของนักกายภาพบำบัด การดำเนินงานของกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดกับองค์กรของนักกายภาพบำบัดยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน มุมมองการพัฒนากิจกรรมเพื่อผลักดันการพัฒนาวิชาชีพภายใต้บทบาทของนิสิตนักศึกษายังมองไม่ค่อยถูกจุดที่เป็นปัญหาของวิชาชีพจริงๆ กิจกรรมใหม่ๆของกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดยังไม่ทราบกันอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เนื่องมาจากกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดยังอ่อนประสบการณ์และไม่ทราบจุดยืนของตนเองในการพัฒนาวิชาชีพที่แท้จริง ที่สำคัญคือขาดเวทีประสานความร่วมมือระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดกับองค์กรของนักกายภาพบำบัด ผลตามมาคือเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดและองค์กรของนักกายภาพบำบัด ทำให้กิจกรรมของกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดยังไม่เป็นที่ยอมรับของอาจารย์กายภาพบำบัดหลายๆท่าน ทั้งๆที่กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยสร้างความรักและความภาคภูมิใจในวิชาชีพกายภาพบำบัดต่อไปในอนาคต เป็นเวทีที่ใช้สะท้อนความคิดเห็นและการแสดงออกทางความคิดของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างรุ่นพี่นักกายภาพบำบัดกับรุ่นน้องนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด เป็นเวทีที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มและร่วมมือกันเป็นฟันเฟืองเพื่อสร้างแรงขับดันในการขับเคลื่อนการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดภายใต้บทบาทของนิสิตนักศึกษาอาศัยว่าไม้อ่อนดัดง่ายซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เกิดการรวมตัวและสร้างเครือข่ายความร่วมมือของนักกายภาพบำบัดในอนาคต การรวมกลุ่มของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจึงเป็นเสมือนกระจกเงาของบุคลากรวิชาชีพกายภาพบำบัดคนรุ่นใหม่เพราะนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดก็คือนักกายภาพบำบัดในอนาคตนั่นเอง การพัฒนาวิชาชีพโดยพัฒนาบุคลกรตั้งแต่เป็นนิสิตนักศึกษานับได้ว่าเป็นการพัฒนาวิชาชีพแบบยั่งยืน

อธิบายแนวคิด
          สภา คือ สภากายภาพบำบัด ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล กำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด และควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพกายภาพบำบัด(1) สภากายภาพบำบัดจึงเปรียบเสมือนองค์กรที่ดูแลประชาชนให้ได้รับการบริการการรักษาทางกายภาพบำบัดให้ดีที่สุด
          สมาคม คือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (สกท.) ทำหน้าที่เป็นเกียรติและหลักประกันของวิชาชีพกายภาพบำบัด โดยการสร้างคุณภาพ และมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ตลอดจนมาตรฐานทางการศึกษาทางกายภาพบำบัด(2) สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยจึงเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักกายภาพบำบัดในประเทศไทย
          สหพันธ์ คือ สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (สนกท.) ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจากสถาบันต่างๆและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหมู่สมาชิก(3) สหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยจึงเป็นกลุ่มกิจกรรมที่เป็นตัวแทนของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดในประเทศไทย
          จะเห็นว่ามี 2 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักกายภาพบำบัด และ 1 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด การที่นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจะมีโอกาสแสดงพลังและความคิดได้เต็มที่นั้นก็ต้องแสดงผ่านเวทีของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดนั่นเอง การสร้างเวทีของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดขึ้นมาก็จะช่วยสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับวิชาชีพของนิสิตนักศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อองค์กรของนักกายภาพบำบัดในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิชาชีพให้กับนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด
          การร่วมมือกันระหว่าง 3 ภาคส่วนนั้นย่อมจะทำให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพได้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น โดยที่องค์ของนักกายภาพบำบัดสามารถนำประเด็นปัญหาวิชาชีพที่เกิดขึ้นมาให้กลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดได้พัฒนาวิชาชีพภายใต้บทบาทของนิสิตนักศึกษาโดยอาศัยหลักการของ Problem-Based Learning ซึ่งเป็นการฝึกเรียนรู้กับปัญหาจริงที่เกิดขึ้นกับวิชาชีพ(4) กล่าวคือ หากมีปัญหาใดของวิชาชีพที่เป็นปัญหาสำคัญ องค์กรของนักกายภาพบำบัดก็จะทำหน้าที่แก้ไขในฐานะของนักกายภาพบำบัดและส่งโจทย์ของปัญหานั้นมาให้กลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดได้ร่วมกันเรียนรู้และแก้ไขในฐานะของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดโดยองค์กรของนักกายภาพบำบัดก็จะมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยงของกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดเพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นดำเนินอยู่บนลู่ทางที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการเรียนรู้ประสบการณ์และการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เกิดเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวเพราะเมื่อนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดเรียนจบและประกอบอาชีพเป็นนักกายภาพบำบัด พวกเขาเหล่านั้นก็จะเป็นแรงหนุนสำคัญช่วยแก้ไขปัญหาวิชาชีพโดยมีประสบการณ์ที่รุ่นพี่ส่งมอบให้เป็นทุนเดิม
          การนำหลักการ Problem-Based Learning มาใช้ในการเรียนรู้ปัญหาของวิชาชีพนั้นมีการศึกษาเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในหลายๆวิชาชีพ(5) เช่น สัตวแพทย์ พยาบาล กิจกรรมบำบัด รวมถึงวิชาชีพกายภาพบำบัดด้วย ซึ่งจากการศึกษาของ Helen Saarinen-Rahiika และ Jill M Binkley(6)  ในปี 1998 ได้ศึกษาการใช้หลักการ Problem-Based Learning มาผสมผสานในหลักสูตรการเรียนการสอนกายภาพบำบัดในมหาวิทยาลัย McMaster University พบว่านิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดที่เรียนในหลักสูตรที่มีการใช้หลักการ Problem-Based Learning มีความแตกต่างที่ดีขึ้นในเรื่องของพฤติกรรมและผลการเรียนจากนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดที่เรียนในหลักสูตรเดิม จึงได้แนะนำให้นำหลักการ Problem-Based Learning มาใช้ในการจัดการเรียนของสอนของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด จะเห็นว่าหลักการ  Problem-Based Learning มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในวิชาชีพของนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแต่การจัดการเรียนรู้ดังกล่าวอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย สำหรับแนวคิด SaMMual’s Model Concept เป็นการประยุกต์หลักการดังกล่าวเป็นพื้นฐานของแนวคิดในการพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืนโดยวิธีการดังกล่าวที่กล่าวมา

ตัวอย่างวิชาชีพที่มีการพัฒนาวิชาชีพโดยเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรวิชาชีพกับกลุ่มกิจกรรมนิสิตนักศึกษา
วิชาชีพที่เป็นแบบอย่างของการพัฒนาวิชาชีพโดยเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรวิชาชีพและกลุ่มนิสิตนักศึกษาคือ วิชาชีพเภสัชกรรม ที่มีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ(คภ.สสส.) ซึ่งเป็นเครือข่ายของเภสัชกรร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย(สนภท.)(7) ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาของวิชาชีพโดยนำมาจากปัญหา ประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสู่ความสำเร็จจากการอาศัยพลังนิสิตนักศึกษากับการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เป้าหมายหลักในการดำเนินงานคือการสร้างเภสัชกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้คู่คุณธรรม รู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสังคมในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล การดำเนินงานนั้นเริ่มมาจากการที่เครือข่ายเภสัชศาสตร์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ(คภ.สสส.) ผลักดันแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพสู่การจัดการเรียนการสอน พร้อมสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาได้ทำกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ใช้แนวคิดของการสร้างเสริมสุขภาพ โดยมองว่านิสิตนักศึกษาเป็นสิ่งชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานอย่างแท้จริงเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของแผนงาน ตัวอย่างกิจกรรมที่ได้ทำ เช่น         
-กิจกรรมค่ายหมอยาเรียนรู้ชุมชน วัตถุประสงค์คือ พัฒนาทักษะในการทำงานร่วมกับชุมชนและพัฒนาความรู้ที่นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ควรมี เพื่อเป็นพื้นฐานในการให้บริการด้านสาธารณสุข เปิดโลกทัศน์ด้านวัฒนธรรมชุมชน ผลลัพธ์ที่ได้คือ ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน รู้และรับทราบปัญหาทางสุขภาพ รวมทั้งการใช้ยาของชาวบ้านในชุมชน ส่งเสริมให้เกิดความรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละมหาวิทยาลัย ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและเกิดความมุ่งมั่นที่จะนำวิชาชีพเภสัชกรรมออกสู่ชุมชนต่อไป                                                   
-กิจกรรมห้าหมอร่วมกันทำงานในชุมชน เป็นการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ ในการตรวจและให้คำแนะนำด้านสุขภาพกับคนในชุมชนตามหน้าที่ที่แบ่งกันรับผิดชอบ ผลลัพธ์ที่ได้คือ สร้างความตระหนักและความสำคัญในปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งนิสิตนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้และสร้างแนวคิดให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพในการทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพ
-กิจกรรมเภสัชรุ่นใหม่ไม่เอา TABINFO วัตถุประสงค์คือ เพื่อคัดค้านในการจัดงาน FABINFO ASIA 2009 ผลลัพธ์ที่ได้คือ มีผู้ลงรายชื่อ 91,420 คน คัดค้านการจัดงานครั้งนี้ ข้อเรียกร้องของบุคลากรสาธารณสุขที่ร่วมลงรายชื่อคัดค้านที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรี ทำให้เกิดข้อสรุปว่ารัฐบาลไม่สนับสนุนการจัดงานนี้ ผู้เข้าร่วมงานที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีประมาณสามถึงสี่พันคน เหลือประมาณสามถึงสี่ร้อยคน   
การเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรวิชาชีพและกลุ่มกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ทำให้เกิดการแสดงพลังทางความคิดและการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ในการร่วมพัฒนาวิชาชีพภายใต้บทบาทของนิสิตนักศึกษา ก่อให้เกิดงานที่เป็นรูปธรรมโดยตีโจทย์มาจากปัญหาจริงของวิชาชีพ จากตัวอย่างของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย(สนภท.) ที่ได้มีการถ่ายทอดประสบการณ์และบทเรียนทั้ง 3 กิจกรรมดังกล่าว แสดงเห็นว่าพลังของนิสิตนักศึกษาคนรุ่นใหม่ยังคงใส่ใจต่อสังคมส่วนรวมยังมีจิตอาสาอยู่เต็มเปี่ยมขึ้นอยู่กับว่าผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจะจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้อย่างไร

บทสรุปการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดตามแนวคิด SaMMuaL’s Model Concept
          การพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดจะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แบบและยั่งยืนได้นั้นต้องก้าวพัฒนาไปข้างหน้าพร้อมกันโดยอาศัยบุคลากรใน 3 ภาคส่วน คือ สภากายภาพบำบัด สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย และสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย ในการดำเนินการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างบูรณาการบนพื้นฐานหลักการ Problem-Based Learning อาศัยว่าองค์กรของนักกายภาพบำบัดเป็นพี่มาช่วยแบ่งปันประสบการณ์ปัญหาวิชาชีพให้กับน้องๆกลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกันและแสดงออกถึงพลังนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดที่เตรียมพร้อมจะเป็นนักกายภาพบำบัดคนรุ่นใหม่ที่ดีในอนาคต
          อย่างไรก็ตาม SaMMuaL’s Model Concept เป็นแนวคิดและมุมมองหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดซึ่งอาจมองต่างจากบุคคลากรหลายท่านในวิชาชีพ ทำให้ถูกมองว่าเดินบนถนนคนละเส้นทาง ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะคิดแบบไหน เหมือนหรือต่าง แต่ท้ายสุดแล้วเป้าหมายของการเดินทางก็เป็นเป้าหมายเดียวกันคือการพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดของพวกเราทุกคนนั่นเอง




เอกสารอ้างอิง
          1.พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547
          2.ข้อบังคับของสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย (ฉบับแก้ไขใหม่) พ.ศ. 2551
          3.ระเบียบสหพันธ์นิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย  พ.ศ. 2553
          4.Joanna C. Dunlap. Problem-Based Learning and self-efficacy: How a capstone course prepares students for a profession. ET&D. 2005; 53: 65-85.
          5.Samy A. Azer. Problem-based learning, Challenges, barriers and outcome issues. Saudi Med J. 2001; 22: 389-397.
          6.Helen Saarinen-Rahiika, Jill M Binkley. Problem-Based learning in Physical Therapy: A review of the literature and overview of the McMaster university experience. Phys Ther. 1998; 78: 195-207.

          7.ทีมงานติดตามและประเมินภายใน เครือข่ายเภสัชศาสตร์ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.) ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.). หนังสือเล่มเล็กชุดผลงานเด่นของแผนงานเครือข่ายเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ(คภ.สสส.) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2550-2553). [serial online]. Available from:URL:http://info.thaihealth.or.th/library/hot/13134